จากความห่างไกลบ้านเกิดของคนไทยที่เดินทางไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ ทำให้เกิดความ ต้องการศูนย์รวมจิตใจโดยเฉพาะ “พระพุทธศาสนา” คนไทยเหล่านั้นจึงนิมนต์พระสงฆ์จากประเทศ ไทยรวมทั้งได้จัดตั้งศูนย์พระพุทธศาสนาขึ้นในชุมชนคนไทยในต่างประเทศ อาทิ เมืองลอสแองเจลิส เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองนิวยอร์ก และเมืองชิคาโก้ โดยมีคณะกรรมการสงฆ์เป็นผู้ดูแล ทำให้คนไทย ได้มีโอกาสทำบุญและใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น
เนื้อร้อง ศ. ประภาศรี สีหอำไพ / ทำนอง พันเอกชูชาติ พิทักษากร
การอบรมเชิงปฏิบัติการครูอาสาสมัครฯ รุ่นที่ 36 ปี 2562
วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2568 โรงเรียนวัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้จัดพิธีปฐมนิเทศโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ ประจำภาคฤดูร้อน โดยความร่วมมือระหว่างคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนวัดไทยฯ เพื่อเป็นการต้อนรับคณะครูอาสาสมัครที่เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่การสอนในปีนี้ ภายในงานมีพิธีบายศรีสู่ขวัญและการผูกข้อมือต้อนรับโดยนักเรียนและผู้ปกครอง สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันอบอุ่นและงดงามของชุมชนไทยในต่างแดน นอกจากนี้ยังมีการแนะนำคณะครูต่อผู้ปกครองและนักเรียน พร้อมทั้งการพบปะพูดคุยเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดภาคเรียนภาคฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นกันเอง อันเป็นนิมิตหมายอันดีในการเริ่มต้นการเรียนการสอนตลอดระยะเวลาของโครงการ
โรงเรียนได้จัดพิธีปฐมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง ก่อนเริ่มกระบวนการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการ โดยมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และคุณธรรมจริยธรรม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนไทยในต่างแดน
The school held an orientation ceremony to welcome students, parents, and teachers in preparation for the start of the summer term. This event aimed to foster understanding of Thai language, culture, and moral values in a supportive learning environment for the Thai community in L.A.
วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2568 เป็นวันเปิดภาคเรียนวันแรกของโรงเรียนวัดไทยลอสแองเจลลิส ภาคฤดูร้อน คณะครูอาสาฯ ได้ร่วมจัดกิจกรรมรับเปิดเทอมอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มในช่วงเช้าด้วยกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติไทยและอเมริกา ณ ลานหน้าเสาธง จากนั้นจึงนำนักเรียนเข้าสู่โบสถ์เพื่อสวดมนต์ นั่งสมาธิ และฟังธรรมะบรรยายจากพระครูวินัยธร ปญฺญาวฑฺฒโน ให้พร้อมต่อการเรียนรู้ หลังจากนั้นมีการสอบวัดระดับความรู้ภาษาไทย โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ระดับปฐมวัย ระดับประถมต้น และระดับประถมปลาย เพื่อให้การเรียนการสอนในแต่ละระดับเป็นไปอย่างเหมาะสม ในช่วงบ่าย นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการด้านศิลปะ โดยมีการวาดภาพระบายสี และใช้เทคโนโลยี AI สร้างภาพเคลื่อนไหว รวมถึงร่วมฝึกการแสดงดนตรีไทยพื้นบ้านผ่านกิจกรรม "กลองยาว" เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านวัฒนธรรมควบคู่กับความคิดสร้างสรรค์