วิชาดนตรีไทย วัดพุทธดัลลัส ในช่วงสถานการณ์ฉุนเฉิน (COVID-19) ยังเล็งเห็นความสำคัญในการเรียนรู้ จึงยังมีการเรียนสอนในออกแบบการสอนในรูปแบบออนไลน์ ที่ไม่ได้เน้นแต่ผู้สอนเป็นสำคัญ แต่ยังเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้สอนอีกด้วย และผู้สอนยังได้ยึดหลักทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนี้

1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ให้นักเรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีวิชาดนตรีไทย ในขั้นความจำ และขั้นประยุกต์ เช่น ชื่อเครื่องดนตรีไทยแล้วเลือกข้อสอบแบบปรนัย การฝึกโสตประสาทการฟังตามทฤษฎีเสียงก่อนสัญลักษณ์ เมื่อฟังแล้วให้ตอบชื่อเพลงให้ถูกต้อง ข้อสอบอัตนัยเป็นคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการแสดงความคิดเห็นและได้วัดเจตคติของผู้เรียนไปด้วย

 

2.ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) การเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาเรียน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ผู้เรียนมีแรงบันดาลใจในเสริมสร้างใหัผู้เรียนพัฒนาตนเองยิ่งขึ้น จึงได้ให้นักเรียนดูภาพยนตร์เรื่องโหมโรง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กลวิธีต่าง ๆ เทคนิค รวมไปถึงวิถีชีวิตของคนดนตรีไทยในชนบท ซึ่งประเมินผลโดยการให้วาดรูป และเขียนบรรยายเล็กน้อย

 

3.ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นหัวใจหลักของวิชาดนตรี ในการสอนจะเป็นทั้งการสอนแบบผู้เรียนผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ การสอนเป็นวิดีโอ และแผนภาพโน้ตเพลง ซึ่งมีการแนะนำวิธีการบรรเลงให้ถูกต้องและไพเราะขึ้น โดนในการประเมินผลโดยให้นักเรียนส่งวิดีโอของผู้เรียนให้ครูประเมิน