@ A glance of
E-Instructional Design:
Flipped, Blended, M-U Learning etc.
ห้องเรียนแบบดิจิทัล เปิดโอกาสให้กับการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ที่ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการเรียนรู้ของตนโดยผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียน ผู้สอนทำหน้าที่อำนวยให้เกิดการกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์แห่งการเรียนรู้ในระดับสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์นวัตกรรม
รูปแบบการเรียนเชิงรุกที่หลากหลายมีความยืดหยุ่น ตอบสนองการเรียนรายบุคคล (Individualized learning) และเป็นการเรียนส่วนบุคคล (Personalize learning) กล่าวคือ มีความเฉพาะเจาะจงตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล มีความเป็นเฉพาะและส่วนตัวตอบสนองความแตกต่างสไตล์ของการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนที่เป็นแนวปฏิบัติและประสบผลสำเร็จในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เช่น ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) การผสมผสานการเรียนด้วยรูปแบบการเรียน และสื่อ เทคโนโลยีที่หลากหลาย ในแบบประสานและต่างเวลา (Blended learning) การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ในทุกท่านทุกแห่ง (Mobile/Ubiquitous Learning)
การออกแบบการเรียนการสอนที่มีความรอบคอบเป็นระบบ ด้วยกาวางแผน กำหนดเป้าหมาย การจัดสื่อทรัพยกรการเรียนรู้ ขั้นตอนการเรียนรู้ การวัดประเมินผล ตลอดจนการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทีตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน หลักการสำคัญในการออกแบบใช้หลักการแนวคิด โมเดลทางการสอน และในที่สุดกำหนดเป็นรายละเอียดตารางการวางแผนการสอน การออกแบบแผนการสอนการเรียนรู้นี้สามารถใช้เทคโนโลยีเครื่องมือทางปัญญา (Cognitive tools/Mind tools) ช่วยในการระดมสมอง สะท้อนความคิด แสดงภาพการวางแผนอย่างเป็นรูปธรรมในระดับหลักสูตร เป้าหมาย ผลลัพธ์การเรียน การพัฒนาและเผยแพร่สื่อ จนกระทั่ง การดำเนินการสอนตลอดจนการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้